นิทรรศการออนไลน์ เรื่อง ฉันรักในหลวง..ในดวงใจนิรันดร์ หัวข้อ พระปรีชาสามารถแห่งในหลวง รัชกาลที่ 9

อัครศิลปินแห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระปรีชาสามารถในศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนง ทั้งด้านทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ และนฤมิตรศิลป์ ผู้ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวง

 

 

พระปรีชาสามารถด้านประติมากรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สนพระราชหฤทัยในการศึกษาค้นคว้าวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรมและลงมือปฏิบัติด้วยพระองค์เอง โดยผลงานฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่าได้แก่ รูปปั้นผู้หญิงนั่งคุกเข่า พระรูปปั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระพุทธรูป และเหรียญพระมหาชนก

 

 

พระปรีชาสามารถด้านจิตรกรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเริ่มวาดภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์อย่างจริงจังในช่วง 2502 เป็นจิตรกรรมร่วมสมัยหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบเหมือนจริง ภาพทิวทัศน์ แบบเอกซเพรสชันนิสม์ และแบบนามธรรม ผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์มีจำนวนทั้งสิ้น 130 องค์

 

 

พระปรีชาสามารถด้านหัตถศิลป์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โปรดงานหัตถศิลป์สิ่งประดิษฐ์มาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ได้ทรงประดิษฐ์เรือใบขนาดเล็ก หุ่นจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยา ทรงออกแบบและทรงต่อเรือใบฝีพระหัตถ์ ประเภทเอนเทอร์ไพรส์ โอเค และม็อทด้วยพระองค์เอง

 

 

พระปรีชาสามารถด้านถ่ายภาพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สนพระราชหฤทัยการถ่ายภาพมาตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา พระองค์ทรงพระปรีชาทั้งการถ่ายภาพด้วยกล้องธรรมดาและกล้องถ่ายภาพยนต์ ยังทรงพระปรีชาการล้างฟิล์มและการอัดขยายภาพทั้งขาวดำ ภาพสี ภายในห้องมืดอีกด้วย

 

 

พระปรีชาสามารถด้านสถาปัตยกรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สนพระราชหฤทัยการถ่ายภาพมาตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา พระองค์ทรงพระปรีชาทั้งการถ่ายภาพด้วยกล้องธรรมดาและกล้องถ่ายภาพยนต์ ยังทรงพระปรีชาการล้างฟิล์มและการอัดขยายภาพทั้งขาวดำ ภาพสี ภายในห้องมืดอีกด้วย

 

พระมหากษัตริย์นักกีฬา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โปรดทรงการกีฬาหลากหลายประเภทครั้งตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทั้งสกี สเกตน้ำแข็ง เทนนิส แบดมินตัน เปตอง และเรือใบ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของชาติร่วมแข่งขันเรือใบประเภทโอเค (International O.K. Class) ร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้น ณ ประเทศไทย ทรงชนะเลิศเหรียญทองร่วมกันทั้งสองพระองค์ ซึ่งนับได้ว่าทรงพระปรีชาสามารถด้านกีฬาอย่างสูงส่งจึงได้รับการเทิดพระเกียรติว่า “พระมหากษัตริย์นักกีฬา”

 

 

พระปรีชาสามารถด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั้น ทรงพระปรีชาญาณในการพระราชนิพนธ์แปลเป็นอย่างยิ่ง เช่น รายงานจากลอนดอน ประเทศจีนอยู่ยง เรื่องพระราชานุกิจ ติโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ

 

 

พระปรีชาสามารถในระดับสากล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรียได้กราบบังคมทูลเชิญพระองค์ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลขที่ 23 และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ นอกจากนี้ยังได้จารึกพระปรมาภิไธยของพระองค์ลงบนแผ่นหินของสถาบัน นับเป็นชาวเอเชียพระองค์แรกที่ทรงเป็นสมาชิกของสถาบันแห่งนี้ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติครั้งสำคัญยิ่ง

****************************

 

พระปรีชาสามารถด้านดุริยางคศิลป์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีได้หลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีแจ๊สที่ทรงเดี่ยว ด้วยพระองค์เองต้องทรงพระราชนิพนธ์เนื้อหาขึ้นมาใหม่ด้วยไหวพริบที่ฉับพลัน ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงคลาริเน็ตและแซกโซโฟนโต้ตอบกับนักดนตรีระดับโลกได้อย่างคล่องแคล่ว อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีได้เป็นอย่างดี

 

วงดนตรีส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงกอตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์และนักดนตรีอาวุโสที่ทรงคุ้นเคย มาร่วมเล่นดนตรีกับพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ก่อเกิดวงดนตรีส่วนพระองค์ พระราชทานนามแรกว่า วงลายคราม ต่อมามีวงใหม่ พระราชทานนามว่า วงอ.ส.วันศุกร์ ออกอากาศประจำทุกวันศุกร์ และทรงก่อตั้งวงสหายพัฒนา โดยทรงชักชวนคณะแพทย์รวมทั้งคณะผู้ตามเสด็จ รวมฝึกหัดเล่นดนตรีเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงพระประชวน

 

เพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงต่างๆ รวมทั้งสิ้น 48 ทำนอง 79 บทเพลง พระราชนิพนธ์พร้อมเนื้อร้องรวม 5 เพลง อีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทย เพลงสากล และเพลงบรรเลง จากแรงบันดาลพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ จากธรรมชาติ และจากเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลานั้น เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ไพร่ฟ้าประชาชน เช่นเพลง เราสู้ สายฝน แผ่นดินของเรา ความฝันอันสูงสุด หรือ พรปีใหม่ อันเป็นเพลงที่พระราชทานขึ้นเพื่อพระราชทานพรปีใหม่ให้พสกนิกรชาวไทยในพ.ศ. 2496 จึงนับเป็นสัญลักษณ์แห่งการขึ้นพุทธศักราชใหม่ตั้งแต่บัดนั้นจวบจนปัจจุบัน