นิทรรศการออนไลน์ เรื่อง ฉันรักในหลวง..ในดวงใจนิรันดร์ หัวข้อ พระราชประวัติแห่งพระราชา

 

เสด็จพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 5 ธันวาคม 2470 เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช รวม 2 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี

 

ครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ได้ประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงดำเนินวิถีชีวิตดั่งครอบครัวสามัญชนทั่วไป พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจกรรมและโปรดกีฬาประเภทต่างๆ อันเป็นพื้นฐานและที่มาของพระปรีชาสามารถหลากหลายแขนงเมื่อเจริญพระชนมายุในเวลาต่อมา

 

การศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเข้าศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ร่วม 1 ปีเศษ และทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนมีร์มง มัธยมศึกษาที่โรงเรียนเอกอลนูแวลเดอลาซุอีสรอม็องด์แชยี ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และในพ.ศ. 2481 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฌีมนาซกลาซิกก็องตอนาล การนี้ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ และทรงได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ในลำดับต่อมา

เสด็จนิวัตพระนคร ภายหลังที่พระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติในพ.ศ. 2477 ทางรัฐบาลไทยจึงมีมติให้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นพรมหากษัตริย์ การนี้ได้ประทับอยู่เมืองโลซานสักระยะหนึ่ง จึงเสด็จนิวัตกลับพระนครครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2481 ด้วยเรือพระที่นั่ง และเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง พ.ศ. 2488 ด้วยเครื่องบินพระที่นั่ง หนึ่งในพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดคือ การโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมชาวไทยเชื่อสายจีนที่ย่านสำเพ็ง ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่  พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดชจึงทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ทรงหมั้น ระหว่างที่ประทับเพื่อทรงศึกษาต่ออยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงได้พบรักกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครทูตประจำประเทศฝรั่งเศส และหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ 2492 ก่อให้เกิดความปลื้มปิติยินดีแก่ปวงชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

 

 

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประทานในพิธี ณ วังสระปทุม การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493

 


 

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ทรงรับน้ำศักดิ์สิทธิ์จากพราหมณ์และราชบัณฑิต และได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ตลอดจนเครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธทั้งปวง เฉลิมพระนามาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และพระราชทานพระบรมราชโองการวเป็นปฐมว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

 

พระราชโอรสและพระราชธิดา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระประสูติการพระราชิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ, เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

 

 

เอกอัครศาสนูปถัมภก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงผนวชเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน

 

เจริญพระราชไมตรี  หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นรครองราชสมบัติ ในช่วงพ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510  พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทั้งในแถบอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อิหร่าน

 

 

เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ   ไปทั่วไปหนทุกแห่งทุกภาคของประเทศไทย เพื่อทรงรับฟังปัญหา และเพื่อพระราชทานแนวทางบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนในรูปแบบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ

 

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักแห่งทศพิศราชธรรม เป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ทรงอุทิศพระวรกายและพระสิติปัญญา ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ  ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาแหล่งน้ำชลประทานและพัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศ ก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ


 

พระปรีชาสามารถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ดนตรี กีฬา ภาพถ่าย พระราชนิพนธ์ หรือภูมิสถาปัตยกรรม

 

 

พระราชจริยวัตรแห่งความกตัญญู พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระราชจริยวัตรอันงดงามที่สุดในการที่ทรงปฏิบัติและทรงเทิดทูนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเหนือสิ่งอื่นใด  พรองค์ทรงเป็นแบบอย่างของความกตัญญูกตเวทิตาต่อพระราชบุพการีให้กับพสกนิกรไทยทั้งปวงได้ยึดถือและปฏิบัติตาม

 

หอสมุดกลาง ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save